รองผู้ว่าฯกทม.ชวนปรับทรรศนะ รับฟังไม่เป็น-ตัดสินผ่านสื่อ

รองผู้ว่าฯกทม.ชวนปรับทรรศนะ รับฟังไม่เป็น-ตัดสินผ่านสื่อ

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นวิทยากรพิเศษร่วมเสวนาหัวข้อ “Urban Mental Health – สุขภาพจิตคนกรุง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคน” ร่วมกับ ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น และนายอมรเทพ สัจจะมุนีวงศ์ ผู้ก่อตั้ง และ CEO ผู้ขับเคลื่อน Sati App ในงาน “วันสุขภาพจิตโลก – Better Bangkok”เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ที่ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน

นายศานนท์กล่าวว่า เรื่องสุขภาพใจเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของคนป่วยหรือไม่ป่วย เป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องฝึกไปด้วยกัน เมื่อพูดว่ามีคนป่วย จริงๆ แล้วเราลืมไปว่าเราอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนป่วย การที่เรารับฟังไม่เป็น หรือว่าเราไม่เข้าใจเรื่อง Active Listening หรือการตัดสินผ่านโซเชียลมีเดีย เรากำลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดผู้ป่วย เรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องของสังคมที่เราต่างคนต่างทำให้เกิดการสะท้อนกลับ ไม่ใช่การมีโรงพยาบาลที่มากขึ้นเพื่อรักษาผู้ป่วย มันต้องเป็นการศึกษาให้คนเข้าใจเรื่อง Space Active Listening

“อีกส่วนหนึ่งคือ จะต้องมีพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้น ที่ผ่านมาพื้นที่ปลอดภัยจะเป็นการล้อมรั้ว มากกว่าเปิดพื้นที่เพื่อสร้างความปลอดภัย การล้อมรั้วอาจสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้คนที่อยู่ข้างใน แต่อาจจะสร้างความอึดอัดให้คนที่อยู่ด้านนอกก็ได้

การมีทางเลือกต่างๆ ในเมืองที่รัฐเป็นผู้ดูแลเป็นเรื่องสำคัญ กรุงเทพมหานครพยายามจัดกิจกรรมในวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อให้เห็นว่าพื้นที่เรียนรู้มีมากกว่านั้น” นายศานนท์กล่าว

รองผู้ว่าฯกทม.ชวนปรับทรรศนะ รับฟังไม่เป็น-ตัดสินผ่านสื่อ

นายศานนท์กล่าวต่อว่า กรุงเทพฯ เป็นมหานครขนาดใหญ่ การที่คนมาอยู่ร่วมกันเยอะๆ แน่นอนว่า มีเรื่องของการบริหารจัดการที่ซับซ้อนขึ้น เช่น ที่อยู่อาศัย สวนสาธารณะ พอคนอยู่กันเยอะขึ้นความสัมพันธ์ก็เปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ หรือความเป็นชุมชนห่างหาย คนไม่ค่อยปฏิสัมพันธ์กัน คนรู้สึกโดดเดี่ยวกันมากขึ้น คนกับโลกห่างกันมากขึ้น

กรุงเทพมหานครมีหน้าที่ในการสร้างชีวิตระหว่างตึก ทำอย่างไรให้เกิดกิจกรรม เกิดพื้นที่สร้างสรรค์มากขึ้น ให้คนออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น และมีความสัมพันธ์แบบที่เคยมีในชนบทหรือชุมชน

นายศานนท์กล่าวด้วยว่า การป้องกันก่อนที่จะเกิดเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเริ่มจากโรงเรียน บางทีเราอาจอยู่ในสังคมเมืองที่ต้องแข่งขันกันมาก ตอนนี้กรุงเทพมหานครมีโรงเรียนนำร่อง 54 โรงเรียน เข้าสู่โรงเรียนนวัตกรรมทางการศึกษา ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ มีการปรับตัววัดผลนักเรียนใหม่ไม่ให้ต้องแข่งขันกันมากไป ทำให้เด็กเป็น Active Learning มีวิชาที่ตอบโจทย์ของเด็กนักเรียนจริงๆ ทำให้รู้สึกสนุกขึ้น ไม่ต้องแข่งขันมาก ไม่รู้สึกต่ำต้อย ส่งเสริมให้ทุกคนมี Personal Life Learning แต่ละคนเป็นเลิศเรื่องอะไร ให้ทุกคนมีทางเลือกที่เป็นได้จริง

“มีกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้คนมีทางเลือกในการออกมาแสวงหาความสุข และสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น ทำให้คนมีทางเลือกในการทำกิจกรรมวันเสาร์-อาทิตย์ได้ ที่สำคัญมากๆ คือการส่งเสริมและให้ความรู้กับทุกคน ว่าคนที่ป่วยหรือมีภาวะนี้ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อยากจะหลุดออกจากภาวะนี้เหมือนกัน และพวกเราเองก็อาจเป็นคนหนึ่งที่ทำให้มันแย่ลง ถ้าเรามีทักษะการเป็นผู้รับฟัง ผู้ช่วย มองว่าสังคมนี้ทุกคนอยู่ในโลกใบเดียวกัน ก็จะช่วยให้ดีขึ้นได้” นายศานนท์กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ capricelimoges.com

ufa slot

Releated